ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างถูกวิธีช่วยลดอาการบาดเจ็บ

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างถูกวิธีช่วยลดอาการบาดเจ็บ

ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างถูกวิธีช่วยลดอาการบาดเจ็บ



ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ ฟิตเนส (Fitness) หรือยิมควรจะมี และทุกคนที่เคยไป ฟิตเนส (Fitness) น่าจะเคยเล่นกันมาบ้าง แต่หากใช้ลู่วิ่งไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บระหว่างวิ่ง หรืออาจทำให้การวิ่งในครั้งนั้นไม่ได้ผลต่อร่างกายก็ได้

 

หลักการปฎิบัติใช้ลู่วิ่งอย่างถูกวิธี มีดังนี้

1. ก่อนเปิดเครื่องเพื่อเริ่มวิ่ง ควรอบอุ่นร่างกายด้วยการทำท่าบริหาร ยืดเส้นยืดสาย คลายกล้ามเนื้อให้ทั่วร่างกายเป็นเวลา 5-10 นาที ก่อนเริ่มต้นวิ่งบนลู่วิ่ง

 

2. หากใช้ลู่วิ่งที่สามารถตั้งโปรแกรมอัตโนมัติโดยใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ฯลฯ ลงไปได้ ก็ควรใส่ก่อนเริ่มต้นวิ่งให้เรียบร้อย

 

3. ไม่ควรเปิดทีวี หรือมือถือดูหนัง ละคร คลิปวิดีโอต่างๆ เพราะอาจทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อบางส่วน โดยเฉพาะคอ ไหล่ หรือต้นแขนขณะวิ่ง ทำให้การวิ่งของเราไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างที่ควรจะเป็น แต่หากอยากชมวิดีโอขณะวิ่งจริงๆ ควรตั้งจอทีวีให้อยู่ตรงหน้าลู่วิ่ง โดยที่เราไม่ต้องก้มหน้า หรือชะเง้อมองจอจากด้านข้างจะดีกว่า หรือเปลี่ยนเป็นฟังเพลงก็ไม่เลวนะ

 

4. การวิ่งที่เป็นธรรมชาติ คือการวิ่งที่ให้ผลลัพธ์ต่อร่างกายได้ดีที่สุด ดังนั้นควรวิ่งบนลู่วิ่งโดยเสมือนว่าลู่วิ่งคือทางบนถนนที่วิ่งปกติ ดังนั้นเมื่อวิ่งได้จังหวะที่สม่ำเสมอแล้ว ควรเอามือออกจากราวจับ ไม่ควรวิ่งไปจับราววิ่งไปด้วย เพราะอาจทำให้เราเสียจังหวะในการวิ่ง วิ่งได้ไม่เป็นธรรมชาติ และไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อที่แขนมากเท่าที่ควร

 

5. ไม่จำเป็นต้องโฟกัสที่ตัวเลขบนเครื่องมากเกินไป โดยเฉพาะตัวเลขจำนวนพลังงานที่เผาผลาญได้จากการวิ่งในครั้งนั้นๆ เพราะพลังงานเป็นแคลอรี่ที่โชว์อยู่บนเครื่อง เป็นตัวเลขที่เครื่องทำการคำนวณให้คร่าวๆ เท่านั้น ควรใส่ใจกับเวลา และความเร็วที่ใช้ในการวิ่งจะดีกว่า

 

6. ควรเดินในความเร็วปกติเพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มวิ่งจริงๆ ราว 5 นาที แล้วค่อยๆ ปรับความเร็วในการวิ่งเพิ่มมากขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มวิ่งไปได้ราว 15 นาที สามารถเพิ่มระดับความเร็วได้เรื่อยๆ จนถึงระดับที่วิ่งแล้วเหนื่อยหอบ แต่ยังพอพูดได้เป็นคำๆ เมื่อถึงจุดนั้นให้หยุดการเพิ่มความเร็ว แล้ววิ่งในระดับความเร็วนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเริ่มไม่ไหว จึงค่อยๆ ลดความเร็วลงมาจนถึงจุดที่เดินได้ หากยังพอไหวเมื่อเดินจนหายเหนื่อย ก็ค่อยๆ เร่งความเร็วเพื่อวิ่งต่อได้

 

7. ควรวิ่งสลับเดินไปเรื่อยๆ ติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที

 

8. ระวังอย่าปรับความเร็ว และความความชันของลู่วิ่งมากจนเกินไป เพราะการวิ่งเกิดขีดจำกัดของตัวเองไม่ได้เป็นผลดีต่อร่างกายเลยแม้แต่น้อย แต่ยังจะทำให้ร่างกายทำงานหนักจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บ และอาจอันตรายต่อสะดุดล้มบนลู่วิ่งได้ โดยเฉพาะใครที่โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับหัวใจ อาจอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย

 

9. เมื่อใช้ลู่วิ่งไปได้สักระยะ อย่าวิ่งด้วยโปรแกรมเดิมๆ ซ้ำๆ หากตั้งค่าด้วยโปรแกรมอัตโนมัติเป็นประจำ วิ่งในระยะเวลา หรือความเร็วซ้ำๆ เดิม ควรเปลี่ยนด้วยการเพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะทาง หรือวิ่งสลับเดินในเวลาที่แตกต่างกันดูบ้าง เพื่อไม่ให้ร่างกายเคยชินกับการออกกำลังกายซ้ำแบบเดิมๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้ออย่างช้าๆ

 

10. อย่าลืมคูลดาวน์หลังวิ่งเสร็จ ด้วยการลดระดับความเร็วจากการวิ่งมาเป็นเดินราวๆ 10 นาที หลังวิ่งสามารถนั่งพัก จิบน้ำได้ และสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกายเพิ่มได้ ด้วยการเล่นเวทต่อ แต่ถ้าหากเหนื่อยล้ามากจนไม่ไหวแล้ว ก็ควรพักให้หายเหนื่อย แล้วค่อยเล่นเวทก็ได้

 

สิ่งสำคัญของการวิ่งบนลู่วิ่ง คือการใช้ลู่วิ่งให้ใกล้เคียงกับการวิ่งบนทางปกติให้มากที่สุด อย่าเพิ่งพาเทคโนโลยีบนลู่วิ่งมากจนเกินไป ปรับระดับความเร็ว และความชันของลู่วิ่งให้เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง เท่านี้ก็จะใช้ลู่วิ่งเพื่อการออกกำลังกาย หรือเพื่อการลดน้ำหนักได้อย่างถูกวิธี และเห็นผลดั่งใจได้แน่นอน

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เครื่องเล่นไหนใน ฟิตเนส ( Fitness ) ที่ช่วยเบิร์นไขมัน

มารยาทในการใช้ฟิตเนส รู้ไว้ไม่เสียหาย



บทความที่น่าสนใจ

การผ่อนกาย ( cool down )
Skinny fat ออกกำลังกายลดพุง



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: