หากคุณมีอาการ ออฟฟิศซินโดรม แค่ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ช่วยได้

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

หากคุณมีอาการ ออฟฟิศซินโดรม แค่ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ช่วยได้

หากคุณมีอาการ ออฟฟิศซินโดรม แค่ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ช่วยได้



โรคยอดนิยม ของชาวออฟฟิศทั้งหลาย ก็คงหนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม ถ้าหากคุณมีอาการ ออฟฟิศซินโดรม แค่ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ช่วยได้นะ ร่างกาย ก็จะได้ประโยชน์ด้วย

 

หลาย ๆ คน อาจจะเคยได้ยิน ว่าพูดที่ว่า “ สุขภาพสำคัญที่สุด ” จากหนุ่มสาววัยทำงานมามากแล้ว หรือไม่ ก็มักได้ยินจากปากของคนที่เกิดปัญหา เกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ ของร่างกาย จากคำพูดนี้เอง ที่ทำให้เรา ต้องหันกลับมย้ำเตือน และตระหนักถึงการดูแลตนเอง ให้สุขภาพดีมากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว หากเราหาเงินมาได้ แต่ต้องมาหมดกับค่ารักษา พยาบาลตัวเอง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก

 

หากพูดถึงสุขภาพ ระหว่างแต่ละช่วงวัย เราจะเห็นชัดเจนมาก ว่ากลุ่มวัยทำงาน หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ มักมีปัญหากับร่างกายมากที่สุด เนื่องจาก ต้องใช้ร่างกายอย่างหนัก ในหลากหลายรูปแบบ และอาชีพที่แตกต่างกันไป บางครั้งก็ทำงาน จนอดหลับอดนอน หรือแม้กระทั่ง นั่งทำงาน จนมีคำพูดที่ว่า นั่งทำงานจนหลังขดหลังแข็ง นั่นเองค่ะ

 

ซึ่งวันนี้ เราจะมาพูดถึง ออฟฟิศซินโดรม นั่นเองค่ะ เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ของชาวออฟฟิศกันอย่างถ้วนหน้า ซึ่งกว่า 80 % ของคนไทย มีอาการออฟิศซินโดรม เนื่องจาก พฤติกรรมในการทำงาน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ จึงทำให้ละเลย และเกิดอาการเหล่านี้ได้ โดยจากอิริยาบถในการทำงาน การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ แม้กระทั่งความเครียด ก็เป็นปัจจัย ที่สามารถก่อให้เกิดอาการได้ทั้งสิ้น ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม กันให้มากขึ้น เพื่อจะได้รับมือและป้องกัน ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรวบรวมมาแล้วค่ะ

 

 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ? อาการแบบไหนถึงเรียกว่าออฟฟิศซินโดรมบ้าง ?

ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome ) หรือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด ( Myofascial pain syndrome ) นั่นคือ อาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดมาจากรูปแบบการทำงาน ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ อย่างเป็นระยะเวลานาน อย่างต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ นานเกินไป โดยไม่ขยับผ่อนคลาย หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาจทำให้ลุกลาม จนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชา ที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลาย ถูกกดทับเป็นเวลานาน โดยร่างกายของเรา ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งาน หรือให้ร่างกายได้ขยับเป็นหลัก แต่ถ้าใช้ร่างกายหนักเกินไปหรือมีการใช้งานซ้ำ ๆ แบบเดิม ๆ โดยที่ไม่ได้ มีการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของร่างกายเลย แบบนี้ก็จะทำให้ร่างกาย เกิดการทรุดโทรมลง และยิ่งอายุมากขึ้นไปอีก ก็จะทำให้ร่างกายทรุดหนักลงไปเรื่อย ๆ จนอาจจะเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด

 

อาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการของผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมนั้น จะรู้สึกปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย โดยจะมีลักษณะเมื่อยล้า อาการนั้นจะมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยพอทำให้รำคาญ จนถึงปวดขั้นรุนแรงและทรมานอย่างมาก

อาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้ เช่น ชา, วูบ, เย็น, เหน็บ, ซีด, ขนลุก, เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า

อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ อาทิ อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

 

การรักษาและวิธีป้องกัน

โดยปกติแล้วผู้ที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ควรจะรับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีรักษาหลายวิธี  เช่น

การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง, การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด, การนวดแผนไทย, การฝังเข็ม, การรับประทานยา สิ่งเหล่านี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ที่มีอาการหนักพอสมควรจนทำให้รู้สึกอึดอัดรำคาญและสำหรับกลุ่มคนที่มีอาการรุนแรงด้วยเช่นกัน ในส่วนของวิธีป้องกันนั้นเริ่มง่าย ๆ จากที่ทำงานได้เลย โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ระหว่างทำงานควรยืดเส้นยืดสายบ้างเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง หรือใช้วิธีปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายที่สุด ปรับเปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ  และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับพอดีกับสายตาหรือผ่อนคลายสายตาบ้าง

ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อให้คุณนั้น ห่างไกลจากอาการนี้ นั้นก็คือ ออกกำลังกายด้วยท่าที่ มีความเหมาะสมกับอาการ ไม่ว่าจะเป็น การยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น หรือว่า เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั่นเอง ซึ่งโดยหลัก ๆ ที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ การใช้ร่างกายเคลื่อนไหว ไม่ให้นิ่ง ๆ อยู่กับที่เป็นเวลานาน การออกกำลังกาย ที่ ฟินเตส ( Fitness ) จึงถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด

 

 

ไป ฟิตเนส ( Fitness ) เล่นอะไรดี ?

 

โยคะ พิลาทิส

ออฟฟิศซินโดรม คืออาการที่เกิดขึ้นจากความเมื่อยล้า อาการปวดเมื่อยเป็นหลัก การเล่น พิลาทิส นั้นจึงถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่ตรงจุด เพราะการออกกำลังกายประเภทนี้จะเน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อต่อกระดูกเป็นหลัก จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้ และยังช่วยคลายผังผืดในกล้ามเนื้อ ส่งผลโดยตรงกับอาการของออฟฟิศซินโดรม ที่จะทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ดูเหมือนจะทำได้ง่าย แต่ก็ควรจะทำให้ถูกวิธี

 

คาร์ดิโอ

คาร์ดิโอ นั้นมีกีฬาหลากหลายชนิดมาก อาทิ การวิ่ง, กระโดดเชือก, ขี่จักรยาน, เต้นแอโรบิค เป็นต้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ออกกำลังกายประเภทนี้ก็เพื่อลดน้ำหนัก หรือเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิต และหัวใจ ทำให้สมรรถภาพร่างกายแข็งแรงและทนทานมากขึ้น แต่สิ่งที่แนะนำให้หลีกเลี่ยง นั่นคือ หากเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้ว ไม่ควรเล่นกีฬาที่มีโอกาส จะได้รับแรงปะทะอย่าง ฟุตบอล บาสเกตบอล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บค่ะ

 

ออกกำลังกายที่ praartitfit24

ขอบอกเลยว่า ที่ praartitfit24 ที่นี่เราเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เดินทางสะดวก สำหรับท่านที่ต้องการ ฟิตเนส ( Fitness ) ก็สามารถมาได้ตลอดเวลา ทางเราพร้อมบริการ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ผอมเกินไปไหม ถ้างั้น มาเพิ่มน้ำหนัก ที่ ฟิตเนส ( Fitness ) กันไหม

ตื่นเต้นจัง ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ครั้งแรก มือใหม่ เตรียมอะไรบ้าง

 



บทความที่น่าสนใจ

เล่น ฟิตเนส ควรมีเทรนเนอร์ไหม



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: