เกร็งกล้ามเนื้อ ขณะเล่นเวท ช่วยเร่งกล้ามโตจริงไหม?

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

เกร็งกล้ามเนื้อ ขณะเล่นเวท ช่วยเร่งกล้ามโตจริงไหม?

เกร็งกล้ามเนื้อ ขณะเล่นเวท ช่วยเร่งกล้ามโตจริงไหม?



หลายคนที่เล่นกล้าม อาจมีปัญหากล้ามไม่โตสักที สาเหตุที่กล้ามไม่โตนั้นมีหลายปัจจัย หนึ่งในนั้น คือ การไม่ เกร็งกล้ามเนื้อ ขณะเล่นเวท นั่นเอง

 

สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ หลายคน อาจจะเคยได้ยินมาบ้าง ว่าขณะเล่นเวท ควรเกร็งกล้ามเนื้อตามไปด้วย เพื่อกล้ามเนื้อ มีการพัฒนา และโตขึ้น ซึ่งการเกร็งกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยเร่งกล้ามโตได้จริงหรือไม่ เรามาหาคำตอบกัน

 

หลายคนที่ออกกำลังกาย ด้วยการยกเวท หรือ เล่นเวทเทรนนิ่ง ( Weight Training ) เพื่อการเสริมสร้ามกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย อาจจะประสบ ปัญหาเล่นมานานแล้ว แต่กล้ามเนื้อ กลับไม่โต หรือพัฒนาขึ้นสักที ทั้งที่ กินโปรตีนถึง นอนเพียงพอ และเล่นเป็นประจำ แต่กลับไม่ได้รับ ผลลัพธ์เท่าที่ควร ซึ่งหนึ่งใน สาเหตุอาจมาจากการเล่น ที่ขณะเล่น ผู้เล่น เวทเทรนนิ่ง ( Weight Training ) ไม่ได้เกร็งกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ ตามไปด้วย

 

การเล่นเวทเทรนนิ่ง ( Weight Training ) นับได้ว่า เป็นการออกกำลังกาย แบบเกร็งกล้ามเนื้อ หรือ การออกกำลังกายแบบ ไอโซเมตริก ( Isometric Exercise ) ซึ่งเป็น วิธีการออกกำลังกาย แบบเกร็งกล้ามเนื้อ มัดใดมัดหนึ่ง โดยออกแรงเกร็งเต็มที่ เพื่อต้านกับแรงต้านทาน และค่อย ๆ คลายกล้ามเนื้อออก เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราเล่นเวท หรือเล่นเครื่องเล่นฟิตเนส ( Fitness ) ที่ต้องใช้ แรงต้านทาน ในการยกน้ำหนัก ต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อประกอบด้วยปัจจัย ดังต่อไปนี้

 

เทคนิคการเกร็งกล้ามเนื้อ

 

การเกร็งกล้ามเนื้อ ผู้เล่น เวทเทรนิ่ง ( Weight Training ) ต้องเลือก เป้าหมายของ กล้ามเนื้อที่ต้องการ ขยายหรือ เล่นในส่วนนั้นก่อน เช่น อก , หน้าแขน , หลังแขน , ขา , น่อง หรือ ท้อง และทำการเกร็งขณะใช้เล่นยกน้ำหนักเฉพาะส่วนนั้น ๆ  ส่วนอวัยวะส่วนอื่นที่เหลือต่าง  ต้องอยู่นิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวใด การหายใจขณะที่เกร็งกล้ามเนื้อ ไม่ควรเบ่งลมหายใจเข้า และออกแรง เพราะจะทำให้ แรงดันเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว

 

ขณะเล่นเวท นอกจากจะต้องโฟกัสกับการเกร็งกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นขณะเล่นที่ต้องควบคุม ดังนี้

 

น้ำหนักที่ใช้เล่น ( Weight )

 

น้ำหนักในการยกเวท ( Weight ) หรือเล่นเครื่องออกกำลังกาย ในฟิตเนส ( Fitness ) ควรเป็นน้ำหนักที่ พอดีที่ทำให้เราสามารถยกได้ 10 - 15 ครั้งต่อรอบ แล้วหมดแรงพอดี หากผู้เล่นยกได้ จำนวนครั้งน้อยกว่า 15 ครั้ง หมายความว่า คุณเลือกน้ำหนักที่หนักเกินไป ก็ให้ลดน้ำหนักที่ใช้เล่นลง หรือหากเล่นได้มากกว่า 15 ครั้ง นั่นหมายความว่า น้ำหนักที่ควรเลือกเบาไป ก็ให้เพิ่มน้ำหนักขึ้น นั่นเอง

 

จำนวนรอบ และจำนวนเซต ( Rep & Set )

 

หากใครที่มี การจัดตารางเล่นเวทเทรนนิ่ง โดยใช้ตารางการเล่นจากที่มีการแนะนำในอินเทอร์เน็ต หรือหนังสือคู่มือการเล่นใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าจำนวนรอบในแต่ละท่าที่มีการเล่นในแต่ละส่วน ส่วนใหญ่จะมีจำนวนอยู่ที่ 10 - 15 รอบ ( Rep ) และ จำนวนเซต 3 - 4 เซต ( Set ) ซึ่งเป็นจำนวนรอบและจำนวนเซตที่เหมาะสมในการเล่นแต่ละท่า ทั้งนี้ จำนวนรอบและจำนวนเซต จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในการเล่นที่ผู้เล่นต้องการ รวมถึง ปัจจัยอื่น ๆ อย่างเรื่อง แรงที่มีและอายุ อีกด้วย

 

การเล่น เวทเทรนนิ่ง ( Weight Training )  เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ให้ใหญ่ และแข็งแรง ผู้เล่น เวทเทรนิ่ง ( Weight Training ) ต้องมีระเบียบวินัย ในการเล่นเป็นประจำ โดยก่อน การเล่นเวท แต่ละท่า ควรเลือกเป้าหมายกล้ามเนื้อ ที่จะเล่นให้ตรงจุดก่อน และเลือกน้ำหนักให้เหมาะสม และขณะที่เล่นเวท ให้มีการเกร็งกล้ามเนื้อมัดนั้นด้วย จากนั้น เล่นไปเรื่อย ๆ จนครบเซต เพียงเท่านี้ การเล่นเวทของคุณ ก็จะมีประสิทธิภาพ ในการเล่นมากยิ่งขึ้น ช่วยให้กล้ามโต กล้ามแน่น ตามผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้แน่นอน

 

สำหรับผู้ที่ต้องการ ออกกำลังกาย แบบ เวทเทรนนิ่ง ( Weight Training ) หากกำลังมองหา ฟิตเนส ( Fitness ) เราขอแนะนำ FIT24 ฟิตเนส 24 ชม. ( Fitness ) ที่มีเครื่องเล่นครบครัน พร้อมเปิดต้อนรับคุณ ให้ได้มาออกกำลังกายกันได้ทั้งวัน มีทั้งหมด 3 สาขา คือ สาขาศรีนครินทร์ , สาขารัชดา และสาขาท่าพระอาทิตย์ ให้คุณสามารถเลือกได้ตามสะดวก

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เข้า ฟิตเนส เล่น เครื่องออกกำลังกาย อะไรดี

ออกกำลังกาย สไตล์ผู้สูงอายุ

 



บทความที่น่าสนใจ

แค่ไป ฟิตเนส ( Fitness ) ก็ได้ หุ่นสวย ๆ อยากรู้ มาดูกันเลย
รวมเทคนิค ถ้าไม่อยากเล่นกล้ามฟรี



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: