อาการบาดเจ็บจาก การออกกำลังกาย

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

อาการบาดเจ็บจาก การออกกำลังกาย

อาการบาดเจ็บจาก การออกกำลังกาย



การออกกำลังกายเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่ดีเราควรออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ถ้าหากไม่ระวังก็จะทำให้บาดเจ็บได้ อาการบาดเจ็บก็จะจำเพาะไปในลักษณะของการออกกำลังกายหรือกีฬาของเรา

 

สาเหตุของการบาดเจ็บ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายใน คือปัจจัยที่เกิดจากตัวเอง เช่น การอบอุ่นร่างกาย ( Warm Up ) หรือการเตรียมความพร้อมไม่เพียงพอ ความเหนื่อยล้าสะสม หรือเทคนิควิธีการเล่น ในกีฬาชนิดนั้น อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ

2 ปัจจัยภายนอก เช่น สถานที่ไม่เหมาะสม อุปกรณ์ที่ใช้มีปัญหา หรือไม่เหมาะสม สภาพอากาศ ลักษณะการเล่นของคู่ต่อสู้ หรือคู่แข่ง เสียงเร้าจากกองเชียร์เวลาแข่ง และอุบัติเหตุ เป็นต้น

 

 

 

สัญญาณอันตราย ควรหยุดทันที

- บาดเจ็บที่ศีรษะ หมดสติ หรือมีอาการทาง ระบบประสาท เช่น ชักเกร็ง อ่อนแรง หรือเสียการทรงตัว

- กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อนหลุด

- บาดเจ็บบริเวณช่องอก หายใจลำบาก แน่นหน้าอกมาก

- เจ็บช่องท้อง มีอาการปวดท้องมาก อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด

- บาดเจ็บที่ตา

- มีแผลลึก เลือดออกเยอะ

- มีอาการปวดมากแม้จะอยู่นิ่ง ๆ หรือหลังการพัก การเคลื่อนไหว ของบริเวณที่บาดเจ็บ

 

เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรไปคลินิกใกล้ ๆ หรือ โรงพยาบาลทันที แต่ถ้าหากมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ปวด บวม ร้าว ที่ไม่สามารถหายได้ ด้วยการพัก และปฐมพยาบาล ภายใน 3 วัน ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

 

 

 

อาการบาดเจ็บที่มักจะพบบ่อย ๆ

 

1 ข้อเคล็ด ข้อแพลง ( Sprain )

เกิดจากมีการเคลื่อนไหว ของข้อมากเกินไป หรือข้อเกิดการหมุน พลิก บิด จนทำให้เนื้อเยื่อ และเอ็นยึดข้อฉีก โดยมีอาการคือ ปวด บวม เจ็บ เคลื่อนไหวได้แต่ไม่ถนัด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยประคบด้วยความเย็น ภายใน 24 ชั่วโมง พันด้วยผ้ายืด แล้วยกส่วนนั้นให้สูง เพื่อลดอาการบวม หากเป็นที่แขนและไหล่ ใช้ผ้าคล้องแขน หลังจากเกิดการบาดเจ็บ 72 ชั่วโมงให้ประคบด้วยความร้อน

 

 

 

2 ข้อเคลื่อน ( Dislocation Of Joint )

เนื่องจากส่วนหัว หรือส่วนปลายของกระดูก เคลื่อน หรือหลุดออก จากที่เดิม อาจเกิดจากการถูกดึง หรือกระชากอย่างแรง หรือเกิดร่วมกับกระดูกหัก เมื่อพบการบาดเจ็บดังกล่าว ห้ามดึงข้อให้เข้าที่เอง ควรปฐมพยาบาล โดยให้ข้อพักนิ่ง ๆ จากนั้นประคบความเย็นทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมง อาจใช้เฝือกชั่วคราว หรือพันผ้ายืด ยกส่วนนั้นให้สูงเพื่อลดบวม หลังจากเกิดการบาดเจ็บ 72 ชั่วโมง ให้ประคบด้วยความร้อน

 

 

 

3 ฟกช้ำ ( Stale )

เป็นอาการที่เกิดจาก การกระแทก ทำให้มีเลือดออก ในชั้นใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อ หรือลึกลงไปถึงชั้น เยื่อหุ้มกระดูก ระยะแรกเมื่อเลือดยังไม่ซึมออกมาก อาจไม่พบมีการเปลี่ยนสี ของผิวหนังหรือบวมขึ้น การปฐมพยาบาล ให้ใช้ของเย็นประคบ บริเวณที่ถูกกระแทก อย่าเพิ่งถูนวด หลัง 24 ชั่วโมงแล้วจึงใช้ของร้อน และถูนวดเบา ๆ ได้ เพื่อให้เลือดที่คั่งกระจาย และดูดซึมกลับได้เร็ว

 

 

 

4 ตะคริว ( Cramp )

เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทั้งจากกล้ามเนื้อเอง ที่ไม่ได้เตรียมพร้อม ก่อนการเล่นกีฬา ทำให้มีของเสียคั่งจากการทำงาน ของกล้ามเนื้อ และจากสาเหตุภายนอก เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ ความหนาว ฝน ความชื้น มีผลให้กล้ามเนื้อ อยู่ในสภาพไม่พร้อม การเตรียมพร้อม หรืออบอุ่นร่างกาย ก่อนเล่นกีฬาจะช่วยให้ไม่ เกิดตะคริว ( Cramp ) ได้ง่าย ทั้งนี้ การปฐมพยาบาล ทำได้โดยใช้ของร้อน ประคบหรือถูนวดเบา ๆ จะช่วยให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อคลาย และมีกำลังยึดหด และใช้กำลังยึดกล้ามเนื้อ ตามทิศทาง การทำงาน ของกล้ามเนื้อ เช่น หากเป็นตะคริวที่น่อง จะมีอาการหดเกร็ง และปลายเท้าเหยียด ให้ใช้กำลังค่อย ๆ เพิ่มกำลังดันปลายเท้าเข้าหาเข่า จะช่วยเหยียดกล้ามเนื้อน่องได้ และลดอาการเป็นตะคริว ( Cramp )

 

 

 

5 กล้ามเนื้อฉีก ( Muscle Strain )

เกิดจากออกแรงเกินกำลัง ทำให้กล้ามเนื้อยึดตัวมากเกินไป อาการบาดเจ็บบริเวณที่มีการฉีกขาด ในระยะแรกอาจพบมีรอยบุ๋มลงไป เนื่องจากกล้ามเนื้อ ส่วนต้น และปลาย ของอันที่ขดหดตัวกลับ เมื่อถูกบริเวณนั้นจะเจ็บมาก และไม่สามารถ ใช้กล้ามเนื้อนั้นได้ การปฐมพยาบาล ทำได้โดยพักการใช้กล้ามเนื้อ ใช้ของเย็นประคบภายใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อช่วยไม่ให้มีเลือดออกมาก ในกล้ามเนื้อ หากมีปลาสเตอร์ ให้ใช้ติดจากส่วนบน ของกล้ามเนื้อ มายังส่วนล่างหลาย ๆ ชิ้น แล้วพาดขวางอีกหลาย ๆ ชิ้น แล้วใช้ผ้ายึดรัดอีกชั้นหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาวะน้ำหนักนิ่ง เกิดจาก?

Warm Up สำคัญเทียบเท่าการออกกำลัง



บทความที่น่าสนใจ

กระโดดเชือกอยู่บ้านกันดีกว่า
ออกกำลังกาย ใน ฟิตเนส ( Fitness ) แบบผิด ๆ ส่งผลต่อสุขภาพได้